ประวัติบ้านม้าเหนือ

บ้านม้าเหนือ  หมู่ 6 ตำบลศรีบัวบาน  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  
อาณาเขต  
ทิศเหนือ         ติดบ้านร่องส้าว และ บ้านศรีชุม  ตำบลบ้านกลาง 
ทิศตะวันออก    จดเขตป่าสงวนแห่งชาติ  มีลำน้ำแม่ยากไหลผ่าน
ทิศใต้             จดบ้านม้าใต้
ทิศตะวันตก      จดบ้านร่องส้าว   ตำบลบ้านกลาง
ประชากร 
มีประชากร.................คน  เป็นชาย..............หญิง..............คน รวม....215.....ครัวเรือน
ประวัติความเป็นมา
          แต่เดิมบ้านม้าเหนือ  รวมการปกครองอยู่หมู่บ้านม้าใต้  อยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านกลาง  เป็นหมู่ที่  8   ตำบลบ้านกลางมาก่อน   ต่อมาปี พ.ศ.2525.นายสังขาร  แสงสว่าง  ผู้ใหญ่บ้านบ้านม้าในขณะนั้น ได้ดำเนินการขอแยกบ้านม้าตอนเหนือออกมาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ได้หมู่ 16  ตำบลบ้านกลางก่อน  โดยมีชื่อว่า  บ้านม้าเหนือ   มีนายสังขาร   แสงสว่าง  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  ส่วนบ้านม้าเดิมยังคงเป็นหมู่ 8  ตำบลบ้านกลาง  ชาวบ้านได้เลือก นายน้อย  สาวะจันทร์   อดีตกำนันตำบลบ้านกลาง กลับมาเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง
 (ต่อมานายน้อย สาวะจันทร์ ได้ขอแยกตำบลตั้งเป็นตำบลศรีบัวบาน)  เมื่อปี พ.ศ..2525.....ทางกรมการปกครองได้แยกหมู่บ้านของตำบลบ้านกลาง  6  หมู่บ้าน  และตำบลป่าสัก  3  หมู่บ้าน  มารวมกันแล้วตั้งเป็นตำบลใหม่ชื่อ  ตำบลศรีบัวบาน   บ้านม้าเหนือ หมู่ 16  ตำบลบ้านกลาง  ได้เป็น หมู่  6  ตำบลศรีบัวบานมา จนถึงปัจจุบัน
 โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญบ้านดังนี้
                   1.  นายสังขาร     แสงสว่าง     พ.ศ....2525..--....2527......... (ถึงแก่กรรม)
                   2.  นายสมบูรณ์   อุตมะโชค     พ.ศ...2527....--...2545...... (เกษียณอายุ).
                   3.  นายสมบัติ     ใจแจ่ม         พ.ศ...2545.....--..2550...... (หมดวาระ ฯ)
                             (ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลศรีบัวบาน ระหว่าง พ.ศ...2547..ถึง 2550....)
                   4.  นายสมบัติ     ใจแจ่ม          พ.ศ. 2550    -    2551   
                                             (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายก อบต.ศรีบัวบาน)
                   5.  นายสีแก้ว   กันทะคะยอม     พ.ศ. 2551    -   ปัจจุบัน
                                                       (ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลศรีบัวบาน)
บ้านม้าเหนือในอดีตชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา  เลี้ยงสัตว์ มาก่อน  และมีการทำเฟอริ์นิเจอร์ (ชุดรับแขกไม้งอ) และทำเกวียนลากข้าว รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ ซึ่งในสมัยนั้นอาศัยไม้ที่นำมาจากป่า  ซึ่งสมัยนั้นไม่ต้องมีการขออนุญาต  และป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์อยู่มากต่อมาเมื่อทางการได้กวดขันจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้  ชาวบ้านจึงหันมาประกอบอาชีพรับจ้าง ก่อสร้าง  และทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้อัดแทน  ช่วงระยะแรก ๆ นั้นได้ไปทำมาค้าขายยังต่างจังหวัดก่อน  โดยกระจายอยู่หลาย ๆ จังหวัด ทำตู้ไม้อัดขายเป็นอาชีพ มีบางคนก็ทำอยู่ในหมู่บ้าน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2535  ผู้ที่ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้อัดก็ปรับปรุงรูปแบบใหม่ มีการทดลองนำเอามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์น็อคดาวน์ โดยสั่งวัตถุประกอบต่าง ๆ จากกรุงเทพ ฯ ทำให้มีแบบที่สวยงาม ระยะแรกมีเพียงตู้ เตียง โต๊ะเครื่องแป้ง ชั้นวางทีวี ตู้โชว์ เป็นส่วนใหญ่  ปัจจุบันธุรกิจประเภทไม้น็อคดาวน์ได้เป็นที่นิยมมาก  ด้วยเหตุที่มีความสวยงาม  ราคาถูก  จึงมีผู้ลงทุนทำกิจการโรงงานผลิตที่ใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องจักร หลายโรงงาน  สร้างเม็ดเงินในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี  ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังมีการนำเอาไม้เนื้ออ่อน (ไม้ลัง) มาทำเป็นเครื่องเรือนอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อเป็นอย่างมากเช่นกัน และมีการคิดรูปแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัย  สวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาดเฟอร์นิเจอร์ ผู้ประกอบกิจการอื่น ๆ  ทั่วไป
การคมนาคมในหมู่บ้าน
บ้านม้าเหนือ  ตั้งอยู่ระหว่าง  บ้านม้าใต้  กับ บ้านร่องส้าวและบ้านศรีชุม  ตำบลบ้านกลาง  มีถนนลาดยางตัดจากถนนซุปเปอร์ไฮเวยเชียงใหม่ ลำปาง  ผ่านหมู่บ้าน  เชื่อมไปยังตำบลบ้านกลาง และนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ  มีการสัญจรที่คับคั่งพอสมควร  ส่วนถนนและซอยในหมู่บ้าน  ได้รับการเทคอนกรีตและลาดยางโดยทั่วถึง
          สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน
          มีวัดป่าจำกู่ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแต่ไม่ใช่วัดประจำหมู่บ้าน  ชาวบ้านยังคงไปทำบุญประจำที่วัดบ้านม้า ซึ่งบรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้  และมีสถานที่สาธารณะกลางหมู่บ้านถือว่าเป็นเสื้อบ้านด้วย
ลักษณะภูมิประเทศ
           เป็นที่ราบลุ่มน้ำ มีลำน้ำสายเล็ก ๆ คือน้ำแม่ยากซึ่งเชื่อลำน้ำแม่สารไปลงยังแม่น้ำกวง ไหลผ่านหมู่บ้าน  มีพื้นที่เกษตรกรรมทำนาอยู่มาก
          สภาพทางสังคม
ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ  และปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธ เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา ปี๋ใหม่เมือง ทานข้าวใหม่ ปอยลูกแก้ว ฟังธรรมมหาชาติ และ
ประเพณีไทยที่เหมือนกับที่อื่น ๆ ทั่วไป  ส่วนประเพณีเดิมก็มีการปฏิบัติอยู่ เช่น  การเลี้ยงผี   การนับถือเจ้าทรง   การส่งเคราะห์ สืบชะตา ฯลฯ
          สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
          แต่เดิมสภาพสิ่งแวดล้อมมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติ  ถ้ามีการปฏิบัติที่ทำลายสิ่งแวดล้อมชาวบ้านก็จะว่ากล่าวขอร้องกัน   เช่น กลิ่นเหม็นจากฟาร์มเลี้ยงสุกร  ปัจจุบันเมื่อสังคมเปลี่ยนรูปแบบ จึงมีปัญหาด้วนมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง หมอกควัน  กลิ่นและเสียงจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์
ซึ่งทางการและชาวบ้านก็ตระหนักถึงปัญหานี้เช่นกัน



          การให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
มีตู้ยามตำรวจสายตรวจประจำตำบล  ตั้งอยู่หน้าหมู่บ้าน  มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค เป็นระบบประปาหมู่บ้าน  มีการรับกำจัดขยะ  มีอาคารอเนกประสงค์  ไฟฟ้า โทรศัพท์สาธารณะ   ร้านค้า  ตลาดสด 2  แห่ง
`กลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน
กลุ่มอาชีพและพลังมวลชน
1.    กลุ่มแม่บ้าน นางเครือวรรณ  วงค์แจ่ม  ประธาน
2.    กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์รักแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด (อส.ปปส)  นายอุดม สมบุญโสด  ประธาน
3.    กลุ่ม  อสม.   นางเครือวรรณ  วงค์แจ่ม
4.    กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   นางเครือวรรณ    วงค์แจ่ม
5.    กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์   นายนายสีแก้ว กันทะคะยอ ประธาน
6.    กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน
7.    กลุ่มเยาวชนคนรักกีฬา
8.    กลุ่มผู้สูงอายุประจำหมู่บ้าน    นางอัมพร  มุ่งฮั่ง   ประธาน
9.    ชมรมผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์   นายนภดล  กันทะสะวะ  ประธาน
ประวัติศาสตร์  เหตุการณ์สำคัญของหมู่บ้าน
ประวัติ ผู้ใหญ่บ้าน
ชีวประวัติ บุคคลที่น่าสนใจในหมู่บ้าน
          ประเภท   กลุ่มคนจนและคนทุกข์ยาก   กลุ่มคนเฒ่าคนแก่  กลุ่มคนป่วย กลุ่มผู้นำ
          ชื่อ  ที่อยู่  วันเดือนปีเกิด  สถานภาพ   การประกอบอาชีพ
ข้อมูลพื้นฐานในหมู่บ้าน
`รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน
ระบบสุขภาพชุมชน
อาชีพของชุมชนในหมู่บ้าน
ปฏิทินชุมชน
          เดือน   กิจกรรมทางประเพณี/วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ 
          รายละเอียดกิจกรรม (กลุ่มไหน-ทำอะไร-เมื่อไหร่-ที่ไหน-อย่างไร)
ปัญหาที่สำคัญในหมู่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น